รายวิชา 1202362 การจัดการสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น
Management of Information and Local Wisdom.

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สภาพโดยทั่วไปของหมู่บ้าน



สภาพนิเวศวิทยา

       เดิม พื้นที่ตั้งของบ้านส้มป่อยเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์  ชาวบ้านเรียกว่า "ป่าดอนบ้าน" มีหนองน้ำที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติเรียกว่า "หนองกระเตีย" มีชาวบ้านอาศัยอยู่โดยรอบหนองน้ำแห่งนี้ เนื่องจากหนองกระเตียอยู่ใกล้แม่น้ำมูล ชาวบ้านส้มป่อย ที่อยู่ทางใต้ของหนองกระเตีย คือคุ้มส้มป่อยใหญ่ ส่วนชาวบ้านที่อยู่ทางเหนือของหนองกระเตีย คือคุ้มส้มป่อยน้อย หรือ บ้านส้มป่อยหมู่ที่  2 และเรียบตามลำแม่น้ำมูลไปทางด้านทิศตะวันตกของบ้านส้มป่อยหมู่ที่ 2 ก่อนจะถึงบ้านโกจะมีป่าผืนใหญ่ที่ชาวบ้านได้รวมกันกำหนดให้เป็นป่าช้า เนื่องจากเป็นที่ดอนมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าใช้บริเวณนี้เป็นป่าช้า ทำให้วิญญาณมีที่สิงสถิต ซึ่งก็เป็นการเอื้อให้ป่าอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีสัตว์ต่างได้อาศัยอยู่มากมาย พอตกตอนกลางคืนจะเกิดเสียงสัตว์ร้องประสานเสียง วิเวก วังเวงทั่วป่า แต่ก็เป็นที่ชอบของพรานป่า จากคำบอกเล่าของ "พรานหน่อง" นายทำนอง    ทองสุทธิ์   ชาวบ้านส้มป่อยอีกท่านหนึ่งซึ่งชอบเข้าป่าเพื่อ ล่าสัตว์  ได้ชี้ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับความเชื่อ เพราะคนในสมัยก่อนเชื่อว่า ผีมีจริง วิญญาณมีจริง  คนในสมัยนั้นจะไม่ทำลายที่อยู่หรือที่สิงสถิตของวิญญาณ ทำให้ระบบนิเวศน์สมัยก่อน ปี พ.ศ.  2520 มีผลที่เอื้อต่อความอุดมสมบูรณ์และสิ่งมีชีวิตสามารถพึ่งพาซึ่งกันและกันได้



ลักษณะภูมิประเทศ

      พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ดอนและที่ราบลุ่ม บ้านส้มป่อย มีพื้นที่ทั้งหมด 1,070 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อาศัย 72 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 998 ไร่ั


ลักษณะภูมิอากาศ

      อากาศแห้งแล้ง ฤดูร้อนจะร้อนจัด ต้นฤดูฝน มักจะประสบกับพายุลมฤดูร้อน(พายุหมุน) ฝนตกไม่ค่อยชุกนัก อากาศหนาวและลมแรง ในฤดูหนาว


ลักษณะดินและคุณภาพดิน

      พื้นดินเป็นดินร่วนปนทราย และบางพื้นที่จะขุดสระเพื่อทำการเกษตร  มีพื้นที่  36.62  ตารางกิโลเมตร  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม  เพาะปลูก  และเลี้ยงสัตว์  ทำนาปลูกข้าว


ลักษณะแหล่งน้ำ

     แหล่งน้าที่สาคัญคือ แม่น้ามูล มีน้าใต้ดินที่สามารถนามาทาการเกษตรได้จากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์จึงมีทรัพยากรที่มีการเก็บหาและใช้ผลประโยชน์มากมายแตกต่างกันไปซึ่งได้แก่ เห็ด หน่อไม้ ผลไม้ป่า และยังมีสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่อย่างมากมาย


สภาพป่าไม้  

      พื้นที่ป่าที่เป็นสถานที่ที่สาคัญในหมู่บ้านคือ ป่าดอนบ้าน ที่เรียบติดกับแม่น้ามูลประมาณ 5ไร่ ปัจจุบันพื้นที่นี้เป็นสถานที่ ที่คนในชุมชนได้อนุรักษ์ไว้เพราะเป็นเสมือนป่า


ข้อมูลทั่วไป




วิสัยทัศน์


            "เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพย์ติด  ผลผลิตจากการเกษตรมีคุณภาพ  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้   เพื่อชุมชนเข้มแข็ง  พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน  และอยู่ดีมีสุข"


คำขวัญ


           "ส้มป่อยเมืองนักปราชญ์    พระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์   งามวิจิตรผ้าไหม    หอมใหญ่กระเทียมดี
  ประเพณีสงกรานต์ลือเลื่อง        เครื่องปั้นดินเผาชั้นนำ      อารยะธรรมยืนยง"





ที่ตั้งและอาณาเขต


สถานที่ตั้ง    อยู่ห่างจากอำเภอราษีไศลมาทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ 13  กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดศรีสะเกษ  ประมาณ   34   กิโลเมตร


อาณาเขตติดต่อ

 ทิศเหนือ              จรดกับ    บ้านโนนศิลป์           
 ทิศใต้                  จรดกับ    บ้านส้มป่อย หมู่ที่ 15
 ทิศตะวันออก      จรดกับ    บ้านดอนตุ่น            
 ทิศตะวันตก         จรดกับ    บ้านโกแดง

ประชากร

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 109 ครัวเรือน

จำนวนประชากรทั้งหมด 497 คน
      แยกเป็น ชาย 244 คน
      แยกเป็น หญิง 253 คน



วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติบ้านส้มป่อยหมู่ที่ 2


          

       บ้านส้มป่อย หมู่ที่ 2  ดั้งเดิมเป็นชุมชนที่เก่าแก่ ซึ่งเป็นชุมชนโบราณอีกชุมชนหนึ่งที่มีการตั้งชุมชน ใน ปีจอ พ.ศ.2369  ประมาณ 181 ปีล่วงมาแล้ว  เริ่มจากสมัยพระวอ พระตาเป็นเจ้าเมืองเวียงจันทร์ซึ่งเมืองเวียงจันทร์มีเมืองขึ้นมากมาย  จังหวัดศรีสะเกษในสมัยก่อนเป็นเมืองขุขันธ์ เจ้าเมืองขุขันธ์ชื่อพระยาไกร ซึ่งเป็นผู้มีความกระด้างกระเดื่องต่อเมืองเวียงจันทร์ซึ่งยกทัพมาตีค่ายส้มป่อย  เมือสำเร็จการศึก พระยาไกรที่ค่ายส้มป่อยแล้วก็ได้ย้ายทัพไปที่ทุ่งสัมฤทธิ์  ปล่อยให้ค่ายส้มป่อยว่างเปล่า  ต่อมาได้มีชาวเวียงจันทร์ได้ย้ายรกรากเข้ามาอยู่ที่ค่ายส้มป่อยและเรียกค่ายนั้นว่า บ้านส้มป่อย และความเป็นมาของชื่อบ้านนั้น ได้รับการบอกกล่าวพอสรุปได้ว่า มีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อต้นส้มป่อย เกิดขึ้นอยู่มากมาย ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นต้นไม้มงคล อีกทั้งเป็นพืชสมุนไพรอีกด้วยและได้เรียกขานสถานที่นี้ด้วยไม้มงคลว่า บ้านส้มป่อยและไม่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจนถึงปัจจุบัน

       ในปี พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าให้ตรา ข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ (รศ.116 และ รศ.117) โดยแบ่งออกเป็นเขตเมือง  อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน โดยมีผู้ว่าราชการเมือง นายอำเภอ  นายกำนัน  และผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครองตามลำดับ

       จากหลักฐานเอกสารและจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโส  คนเฒ่าคนแก่  ทราบว่า บ้านส้มป่อย เป็นบ้านที่มีบุคคลเป็นผู้นำ ผู้ปกครอง ในระดับตำบล หมู่บ้านหลายรุ่น หลายคน ดังนี้

                1. นายลา    โพธิวัฒน์                                    ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  2
                2. ขุนประสพ  (สาย   พรหมศร)                      กำนันตำบลส้มป่อย
                3. นายจีน   พรหมศร (ลูกชายขุนประสพ )         ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2
                4. นายตุ่น   บริบาล                                        ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  2
                5. นายแดง  โพธิวัฒน์                                    กำนันตำบลส้มป่อย
                6. นายศรี    ดาวเรือง                                      กำนันตำบลส้มป่อย

         ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการกำหนดเขตการปกครองหมู่บ้านออกเป็น 2 หมู่บ้านและมีผู้นำการปกครองหมู่บ้าน  2  ท่าน จนถึงปัจจุบัน
             1. นายชาลี     ดาวเรือง          ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  2
             2. นายพิชัย     บุญอินทร์        ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15
         ปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านส้มป่อยหมู่ที่   2  คือ   นายสุวัฒน์     ธรรมวิเศษ