รายวิชา 1202362 การจัดการสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น
Management of Information and Local Wisdom.

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บุคคลสำคัญ และปราชญ์ชาวบ้าน


ปราชญ์ชาวบ้าน

     พ่อหนูพรหม   บริบาล หมอยาสมุนไพรประจำชุมชน วัย 70 ปีถิได้ว่าเป็นบุคคลที่ชุมชนได้ให้ความเคารพอีกท่านหนึ่งเป็นที่รู้จักในอีกนามหนึ่งคือ คุณพ่อจาร เนื่องจากบวชเรียนตั้งแต่วัยเด็ก
จนได้บวชเป็นพระ อยู่ในสมานเพช ตลอดมาและมีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพร การเป่า  การต่อกระดูก กล้ามเนื้อฟกช้ำ รวมถึงเส้นเอ็นต่างๆด้วยการรักษาด้วยน้ำมัน
             พ่อจารหนูพรหม  ได้เล่าให้ฟังว่า เรื่องการรักษานั้นกระทำด้วยใจ และอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เรื่ององค่ารักษาก็ไม่เคยตั้งค่ารักษาไว้ ความภูมิใจอยู่ที่ผู้มาให้รักษาอาการป่วยแล้วหายและไม่ทุกข์ทรมานก็ถือว่าภูมิใจแล้ว   ส่วนวิชาที่ได้มาก็ได้จากการเรียนรู้ตอนที่บวชเรียนเป็นพระและได้รับการถ่ายทอดมาจากบ้านกาเจาะ จ. สุรินทร์ ตามที่เคยรักษาคนที่ป่วยมานั้นอาการที่เป็นคือดีขึ้นเกือบทุกรายและจะอยู่ที่ข้อปฏิบัติที่ต้องปฏิบัติตนของผู้ป่วยเองด้วย  เช่นต้องไม่ดื่มเหล้า ไม่ขยับกาย เกินความจำเป็นหรือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ
              ในฐานะที่เคยบวชเรียนเลยได้ขอถือโอกาสให้ช่วยบอกเล่าถึงฮีต 12 ครอง 14 ที่ชุมชนส้มป่อยได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา
                 เดือนอ้าย คือ   การเข้ากรรมหมายถึงพระเข้ากรรม
              เดือนยี่      คือ   ข้าวเข้าลานหมายถึงการเตรียมลานข้าวขนข้าวเขข้าลาน
              เดือน  3     คือ   บุญข้าวจี่และมีการสู่ขวัญข้าว
              เดือน   4    คือ   บุญพระเวช
              เดือน   5    คือ   บุญสงกรานต์
              เดือน   6     คือ   บุญบั้งไฟ
              เดือน   7    คือ    การตักบาตรบ้าน
              เดือน    8   คือ    บุญเข้าพรรษา
              เดือน   9     คือ   ข้าวประดับดิน
              เดือน   10   คือ   บุญข้าวสาก
              เดือน   11   คือ   ออกพรรษา
               เดือน   12   คือ  บุญกฐิน
          ซึ่งทุกเดือนก็จะมีการปฏิบัติตามฮีต 12 ครอง 14 คนในชุมชนจะถือปฏิบัติตนเสมอมาโดยไม่ต้องมีการนัดหมายและความสำคัญของการทำบุญแต่ละเดือนทำให้คนในชุมชนได้มีโอกาสพบปะกันพูดคุยกัน  



นายคาน   สุตะพันธ์

          นายคาน     สุตะพันธ์ วัยย่างเข้า 67 ปี เป็นคนในชุมชนส้มป่อยโดยกำเนิดมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 16 ชีวิต นายคาน  สุตะพันธ์ เป็นลูกคนที่ 8 ถือว่าเป็นครอบครัวใหญ่ แต่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร   อาชีพส่วนตนในปัจจุบันทำนาเป็นอาชีพหลัก อาชีพรองคือการปลูกหอมแดง อาชีพเสริมคือ การจักรสาน
     เราลองหันกลับมาดูในอีกมุมหนึ่งของบุคคลในชุมชนที่ถ่ายทอดถึงวิถีการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวที่ถือว่ามีขนาดใหญ่และอยู่อย่างมีความสุขได้อย่างไร
     พ่อคาน   สุตะพันธ์  เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งยังเยาว์วัยมีพี่น้อง พ่อแม่ อยู่รวมกันเยอะมีความอบอุ่น มีข้าวกิน อาหารก็อุดมสมบูรณ์ ภูมิประเทศของส้มป่อยเป็นท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์มาก ในป่ามีเห็ดมีหน่อไม้ มีพืชผัก ในน้ำมูลก็มีปลา ในนาข้าวก็มีปลารวมถึงปลาในสระน้ำ ( บ่อล่อปลา ) มีเป็ด ไก่ เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารและยังมีผลไม้ตามฤดูกาลให้ได้กินตลอดทั้งปี พื้นที่ลุ่มก็ทำนา พื้นที่ดอนก็ปลูกหอมกระเทียม ปลูกปอ
         การดำรงชีวิตของแต่ละคนในครอบครัว คุณพ่อจะถนัดทางด้านเย็บเสื้อผ้าถือเป็นอาชีพรองหลังจากการทำนา แม่ก็มีความสามารถทางด้านเลี้ยงไหม การทอผ้า ที่สวมใส่ของคนในครอบครัว รวมถึงเสื้อผ้านักเรียนจะมีการตัดการเย็บเองด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ ลูกทุกคนยังอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ พี่คนโตก็จะช่วยเลี้ยงน้องดูแลน้อง พี่บางคนก็จะช่วยพ่อตัดเย็บ ส่วนผู้หญิงก็จะช่วยแม่เลี้ยงไหมและทอผ้าและพี่บางคนก็จะออกไปรับจ้างหาเงินมาใช้ในครอบครัว เวลากินข้าวส่วนมากตอนเช้าและตอนเย็นก็จะรับประทานอาหารพร้อมหน้ากัน ในตอนเช้าจะเป็นข้าวเหนียวนึ่ง ประมาณ 6-8 กิโลกรัม ต่อวัน ( ข้าวสาร )ส่วนลูกที่อยู่ในวัยเรียนตอนเที่ยงก็จะกลับมากินข้าวเที่ยงที่บ้านเนื่องจากบ้านไม่ไกลจากโรงเรียน เรื่องเงินซื้อขนมก็ไม่ต้องใช้เพราะมีผลไม้ข้างทางก็เป็นอาหารว่างได้ ส่วนอุปกรณ์การเรียนจะมีกระดานดำ ดินสอดำ ก็ไปโรงเรียนได้ อุปกรณ์การเรียน ชุดเสื้อผ้าที่ยังใช้ได้ก็เอาให้น้องใช้ต่อไปได้ ความผูกพันอย่างหนึ่งระหว่างพี่น้องที่พอจะเห็นได้คือ พ่อแม่มีลูกหลายคน พี่จะต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูน้อง ไม่ให้น้องร้องไห้ ความผูกพันเหล่านี้จึงทำให้เกิดความรักซึ่งกันและกัน
          ด้านอาชีพของพ่อคาน  สุตะพันธ์ เป็นคนที่ชอบทำอาหาร ชอบจักรสาน โดยได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการจักรสานจากหลวงปู่ที่วัดสมัยที่บวชเรียน  ด้วยมีความชอบเป็นทุนเดิมจึงทำให้ชิ้นงานออกมาด้วยความประณีต จึงได้รับความนิยมมากในสมัยนั้น และยังมีกลุ่มที่ยึดอาชีพจักรสานอยู่หลายคน แต่ด้วยวัยที่สูงขึ้น จึงยังคงเหลือพ่อคาน   สุตะพันธ์ ที่ยังคงยึดอาชีพนี้อยู่พ่อคานเล่าถึงความรู้ที่ไดรับจากหลวงปู่คือการเรียนรู้ลายจักสานต่างๆ เช่น สายสาม จะใช้กับพวก กะเบียน
กระด้งสายสองจะใช้ในพวกสานฝาผนังบ้าน และลายขัดจะใช้ในพวกสานตะกร้า ขาบข้าว กระบุงเป็นต้น ผลผลิตที่ได้นั้นจะนำไปขายในชุมชน ส่วนมากจะมีการสั่งจอง และทำสั่งตามความต้องการ ความกังวลตอนนี้คือความรู้ในเรื่องการจักสานจะสูญหายต้องการถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นหลัง
         สรุปการบอกเล่าของพ่อคาน  สุตะพันธ์ จะทำให้มองเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของชุมชนส้มป่อยทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ทั้งดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามส่งผลถึงเป็นสังคมของชุมชนที่มีความเอื้ออาทรต่อกันมีความรักสามัคคีที่ดีต่อกันมองได้จากความเป็นอยู่อย่างมีระบบและมีความสุขได้จะต้องมีปัจจัยและสิ่งแวดล้อมภายนอกคือความสมบูรณ์ทางธรรมชาติภายในท้องถิ่นนั้นๆ 


บุคคลสำคัญของหมู่บ้าน



นายคมศักดิ์  โพธิ์งาม
บุคคลสำคัญของบ้านส้มป่อย หมุ่ 2 


            นายคมศักดิ์    โพธิ์งาม ถือได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีใจรักทางด้านการเมืองที่อยู่ในชุมชนส้มป่อยหมู่ที่ 2 มีประวัติเกี่ยวกับชีวิต การเมืองและชอบการเป็นผู้นำมาตั้งแต่เยาว์วัย มีความคิดที่คิดและทำควบคู่กันไปโยไม่ต้องรอวันและเวลา มีความเสียสละทำเพื่อส่วนรวมด้วยใจรักจนเป็นที่ ยอมรับของคนในชุมชน สนับสนุนให้เป็นสารวัตรกำนันและได้รับการเลือกตั้งให้เป็น อบต. สมัยแรก ต่อมาได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสภา อบต. เลือกแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการสภา อบต. จนได้รับเลือกเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย ถือได้ว่าเป็นผู้นำที่เกิดจากแรงศรัทธาของคนในชุมชน
           ผลงานด้านการพัฒนาได้จัดให้มีการพัฒนาทางด้านสังคม การเมืองการปกครอง จัดให้องค์กรทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม  ร่วมคิดร่วมทำ โดยจัดให้มีการประชุมเชิงบูรณาการ ( CEO)เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนได้แสดงความคิดเห็นนำเสนอผลงาน เสนอปัญหาและร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาร่วมกันจนทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ภายในชุมชนหลายอย่าง รวมถึงแนวทางการสร้าการมีส่วนร่วมเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งโดยใช้ประเพณีวัฒนธรรมเช่นการร่วมทำบุญประเพณีสงกรานต์ การทำบุญวันขึ้นปีใหม่  ลอยกระทง  โดยการทำบุญพร้อมกันของคนในชุมชนที่โรงเรียนบ้านส้มป่อย ( ส้มป่อยวิทยาเสริม)
          การสนับสนุนด้านการศึกษา จนพัฒนาคุณภาพของเยาวชนสู่สถาบันการศึกษาที่ดีมากมาย จึงขอโอกาส นี้ขอให้ท่านได้ถ่ายทอด องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับชุมชนส้มป่อยหมู่ที่ 2  ดังนี้
         ชุมชนส้มป่อยในอดีตเคยเป็นค่ายทหารเรียกว่าค่ายส้มป่อย  จะพบร่องรอยพอให้เห็นรวมถึงการสืบทอดทางการบอกเล่าต่อกันมาคือเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว ยกทับเพื่อตีเมืองโคราชโดยตั้งค่ายที่ส้มป่อย จากคำบอกเล่ายังยังพอมีร่องรอยทางด้านชุมชนคือชุมชนบ้านโกซึ่งเป็นชาวโคราชที่ตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลส้มป่อยจนถึงทุกวันนี้ซึ่งปรากฏรายละเอียดชุดองค์ความรู้แผนที่ตั้งชุมชนดั้งเดิมพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
         ชุมชนส้มป่อย ได้ก่อตั้งเป็นคุ้มใหญ่เรียกว่าบ้านส้มป่อยใหญ่  คุ้มน้อยเรียกว่าบ้านส้มป่อยน้อย มีวัดส้มป่อยใหญ่  วัดส้มป่อยน้อย  และมีโรงเรียนส้มป่อย  (ประถม , มัธยม) สถานีอนามัยอยู่กึ่งกลาง ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 5  หมู่บ้าน จำนวน 500 หลังคาเรือน
         สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวชุมชนส้มป่อยที่เด่นชัดคือความเป็นอยู่ ที่อุดมสมบูรณ์เพราะตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ปีใหนฝนตกดีก็ได้ข้าวมาก ปีใหนฝนตกน้อยก็ยังมีข้าวกิน เพราะดินดี  น้ำดี ระดับน้ำใต้ดินมีมาก อาชีพเสริมคือการปลูกหอมแดง ประชาชน 92 % มีอาชีพปลูกหอมแดง สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่าปีละ  90  ล้านบาท เมื่อความเป็นอยู่ค่อนข้างดีจึงทำให้ พ่อ แม่ผู้ปกครองมีกำลังส่งลูกหลานให้ได้เรียนหนังสือ ตำบลส้มป่อยถือเป็นตำบลที่ได้รับการขยายโรงเรียนจากชั้น ป. 4 ถึงชั้น ป. 7 เป็นแห่งที่ 2 ของอำเภอราศีไศลคือโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม ก่อตั้งเมือ 19 ก.ค. 2519  ชุมชนส้มป่อยก็ค่อยๆเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับเพราะเศรษฐกิจดี มีการศึกษา ตำบลส้มป่อยมีผู้สำเร็จการศึกษาและรับราชการเป็นจำนวนมาก ถ้าเทียบในระดับตำบลต่างๆแล้วในจังหวัดศรีสะเกษถือว่า ตำบลส้มป่อยคือ กตะศิลาทางการศึกษา
              บ้านเมืองรักสงบมีความสามัคคีผู้นำเข้มแข็งทำงานอย่างต่อเนื่องนำสิ่งดีๆมาสู่ชุมชน เช่นกองทุนร้านค้าประจำหมู่บ้าน ทุกกองทุนก่อตั้งมานานตั้งแต่ปี 2520 ก็ค่อยพัฒนาเจริญขึ้นมาจนทุกวันนี้ ไม่เคยล้มลุกคลุกคลานเพราะคณะกรรมการเข้มแข็ง สมาชิกรู้จักรักษาผลประโยชน์ร้านค้าของตนเอง
              ในชุมชนส้มป่อย ที่เป็นจุดแข็งอีกอย่างก็เพราะแต่ละส่วนงานหรือองค์กรได้พัฒนามาเป็นลำดับ จาการพูดคุยประชุมและร่วมงานกันมาตลอดตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา มีการประชุมในรูปบูรณาการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน บ้านใด หน่วยงานใด องค์กรใดมีงานก็ช่วยกันทำ ในภาพรวมของตำบลส้มป่อย โรงเรียนแต่ละแห่งพัฒนา วัดทุกวัดเจริญ สถานีอนามัยพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลก้าวหน้าเพราะเป็นองค์กรประสานงานส่วนต่างๆให้พัฒนาควบคู่กันไปในทุกๆด้านโดยเฉพาะในช่วงจากปี 2530 -  2552  ที่ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมกับทุกๆส่วนงาน เพื่อพัฒนาชุมชนส้มป่อยให้มั่นคงและยั่งยืน


การเมืองการปกครอง

การปกครอง  
        มีผู้นำหมู่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน  2  คน คณะกรรมการหมู่บ้าน  (กม.) จำนวน
9  คน แบ่งการปกครองออก เป็น  7  คุ้มในแต่ละคุ้มมีคณะกรรมการ จำนวน 15 คน มี โดยมีกฎระเบียบข้อบังคับของหมู่บ้าน เพื่อปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกภายในหมู่บ้าน



บทลงโทษในชุมชนได้ร่างกฎระเบียบไว้ 2 สถานะคือ

1.  สถานะปกติ คือ การปรับไหมเพื่อชดใช้แก้เจ้าทุกหรือเป็นการขอคมาแก่เจ้าทุกข์หาก กระทำผิดในครอบครัวหรือเครือญาติต้องขอคมาต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในเครือญาติและรับการสั่งสอนและการตักเตือนจากท่านไม่ให้กระทำผิดอีก
2.    สถานหนัก คือ การปรับไหมตาย เป็นการพิจารณาความจากเถ้าแกตุลาการ มีการปรับไหมเข้าหมู่บ้าน หากมีข้อหาที่เป็นอันตรายต่อหมู่บ้าน เช่นการมีอาวุธ การทำร้ายร่างกาย  การลักขโมย นอกจาการปรับไหมแล้วยังมีคุกหมู่บ้าน ซึ่งเคยมีกรณีตัวอย่าง มีโจรปล้นในหมู่บ้านชุมชนส้มป่อย มีพฤติกรรมลักขโมยอยู่บ่อยครั้ง จนได้มีการสืบหาและจับกุมโดยกรรมการหมู่บ้านจำนนต่อหลักฐาน  โดนโทษปรับ  50  บาทและถูกล่ามโซ่หรือการติดคุกหมู่บ้าน 2 คืนนั่นเอง จากนั้นมาไม่เคยมีใครทำในกรณีนี้อีกเลย

เศรษฐกิจและรายได้ในการประกอบอาชีพ


การประกอบอาชีพ



ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร  อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา อาชีพเสริม ได้แก่ ปลูกหอมแดง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า จักสาน ปลูกพืชผักสวนครัว และอาชีพเสริมที่ทำรายได้ให้กับครัวเรือนมากที่สุด คือ อาชีพปลูกหอมแดง รองลงมาคือกลุ่มอาชีพเลี้ยงโค  มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 138,000 บาท/ปี  รายได้ต่อครอบครัว  250,000  บาท/ครอบครัว  รวมเป็นเงินที่ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนประมาณ ปีละ  15  ล้านบาท  (ข้อมูลจาก  อบต.ส้มป่อย)

กลุ่มร้านค้าชุมชนบ้านส้มป่อย หมู่ที่ 2


ร้านค้าชุมชน บ้านส้มป่อยหมู่ 2

         การบริหารการจัดการ
 -   คณะกรรมการประชุมทุกวันที่ 3 ของทุกเดือน
-    มีระเบียบ ข้อบังคับ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนอยู่เสมอ
-    ออกระเบียบใช้ในการบริหารจัดการแผนการพัฒนากองทุนร้านค้าให้เข็มแข็งและยั่งยืน
-     พัฒนาการบริหารจัดการรอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้
-    จำหน่ายสินค้าที่เหมาะสม สะดวก สะอาด ปลอดภัย
-    ส่งเสริมให้มีการเพิ่มหุ้น
-     บริการเครดิตสินค้าให้กับสมาชิก
-     มีการกำหนดการใช้เครดิตสินค้าไม่เกิน ห้าเท่าของหุ้น

ข้อมูลทั่วไป

1.กองทุนร้านค้า หมู่ที่ 2 ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล  จังหวัดศรีสะเกษ   มีสมาชิกจำนวน 239 คน
      2. การดำเนินการ.กองทุนร้านค้า ตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2541ได้รวมกลุ่มกับบ้านส้มป่อยหมู่ที่ 15 ต่อมาได้แยกหมู่บ้าน   มาเป็นกองทุนร้านค้าชุมชน หมู่ที่  2 วันที่  26  เมษายน  
2546 



กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฯบ้านส้มป่อยหมู่ที่ 2

 

ข้อมูลทั่วไป

       1. กลุ่มออมทรัพย์ หมู่ที่ 2 ตำบลส้มป่อย  อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ มีสมาชิกจำนวน 148 คน                                           
             2.การดำเนินการ  กลุ่มออมทรัพย์ตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2541ได้รวมกลุ่มกับบ้านส้มป่อยหมู่ที่ 15 ต่อมาได้แยกหมู่บ้านมาเป็นกลุ่มออมทรัพย์ หมู่ที่  2 วันที่ 1 กันยายน 2545 ได้ดำเนินการตามลำดับต่อไปนี้สรุปยอดสมาชิกและจำนวนเงินสัจจะต่อปี 

การบริหารการจัดการ
 1. คณะกรรมการประชุมทุกวันที่ 6  ของทุกเดือน
 2. การส่งเงินสัจจะรายเดือนทุกวันที่ 5 ของเดือน
 3. ส่งเงินชำระเงินปุ๋ยเดือนมีนาคมของทุกปี
 4.  การปันผลประจำเดือนพฤษภาคมของทุกปี
 5. แผนการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหมู่ที่2
 6. พัฒนาบุคลากรของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์และ
 7.  คณะกรรมการแสดงบทบาทของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
 8. ส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มโดยสม่ำเสมอ
 9. ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิก
 10.ส่งเสริมการออมระดมเงินหุ้น 

มุ่งพัฒนาอาชีพและสนับสนุนในการพัฒนาอาชีพแผนปฏิบัติ การขับเคลื่อนการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ฯ
           1. โครงการพัฒนาการบริหาร
2.  โครงการประชุมคณะกรรมการ
3.  โครงการเพิ่มหุ้น
4.  โครงการพัฒนาประสิทธิภาพขอบุคลากร
5.  โครงการประชาสัมพันธ์
6.  โครงการทำดอกไม้ประดิษฐ์และของชำรวย
 7.  โครงการติดตามและประเมินผล
       8. โครงการศึกษาดูงาน
กิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ฯ
1. ให้บริการปุ๋ยแก่สมาชิก
2.  ส่งเสริมการศึกษา
3.  การถนอมอาหาร
4.  สนับสนุนศิลปะประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน
5.  สวัสดิการสมาชิก
6.  รับฝากเงินสัจจะ
7.   การแปรรูปอาหาร
8. ให้เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน



บรรยากาศภายในสถาบัน


กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านส้มป่อย หมู่ที่ 2 ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่จัดตั้งขึ้นด้วยหลักการและวิธีการของกรมการพัฒนาชุมชน  มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อการออมและเป็นทุนในการประกอบอาชีพและใช้จ่ายยามเดือดร้อนจำเป็นของสมาชิกในชุมชน  มีการบริหารจัดการกลุ่มด้วยหลักคุณธรรม 5 ประการ     ทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง มีการพัฒนามาตามลำดับ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากผลการประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัดและระดับเขต เมื่อปี พ.ศ. 2551 เป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีคุณสมบัติ  ตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์ของการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คือ
               1.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่ขึ้นทะเบียนรับรองคุณสมบัติกับกรมการพัฒนาชุมชน
               2.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่มีผลการประเมินการจัดระดับการพัฒนาอยู่ในระดับ 3
               3.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่มีกองทุนชุมชนอื่นๆ ด้วย  เช่น  กลุ่มอาชีพ
               4.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่ยึดมั่นในคุณธรรม 5 ประการ ในการบริหารจัดการกลุ่ม
               5.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่มีความพร้อม  ผลการดำเนินงานเจริญก้าวหน้าต่อเนื่อง และสมัครใจ
                            จังหวัดศรีสะเกษ  จึงได้พิจารณาคัดเลือกเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป้าหมาย  ดำ เนินงานตามโครงการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ตามแผนปฏิบัติราชการกรมการพัฒนาชุมชนประจำปี  2552 
โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
                          1. ให้การบริหารจัดการเงินทุนชุมชนเป็นระบบเป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาของชุมชนโดยชุมชน
   2.  เป็นแหล่งออมเงิน แหล่งทุนและแหล่งสวัสดิการ ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย
                           3. เป็นสถาบันการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการของคณะกรรมการและสมาชิก


เจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
            มีจำนวน 3 ตำแหน่ง ประกอบด้วย
           1. เจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนฝ่ายทะเบียน   นางจิรกาญจน์  บุญมาก       
           2. เจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนฝ่ายบัญชี       นางพิสมัย         พรหมศร    
           3. เจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนฝ่ายสินเชื่อ     นางเกษศิรินทร์  ศรีวิชัย                            


ศาสนาและประเพณี

สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา



วัดบ้านส้มป่อยน้อย หมู่ 2, 15


เจ้าอาวาสวัดบ้านส้มป่อยน้อย


หลวงตาจวน  ปริสุทโธ
เจ้าอาวาสวัดบ้านส้มป่อยน้อย


ด้านจารีประเพณี  ตามฮีต 12 คลอง 14 ครบถ้วนการสืบทอดที่ทำกันเป็นประจำทุกปีคือการทำบุญกลางบ้านหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "การตักรบาตรบ้าน"  จะมีขึ้นอย่างน้อยปีละครั้งในเดือนหก เพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษเป็นการเคารพพื้นที่และแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความภาคภูมิใจในชุมชน

ด้านความเชื่อ และการนับถือศาลปู่ตา และปู่ตาแฮก ความเป็นมาได้รับการถ่ายทอดจากคุณพ่อสวาทว่า คำว่าปู่คือบรรพบุรุษทางฝ่ายพ่อคือเป็นพ่อของพ่อของพ่อและตาคือบรรพบุรุษทางฝ่ายแม่ของแม่ต่อๆไป กล่าวสรุปได้ว่าศูนย์รวมบรรพบุรุษของทุกครอบครัวนั่นเองซึ่งจะมีที่ตั้งศาลอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลเป็นสภาพป่าที่สมบูรณ์เรียกว่าดอนปู่ตา และปู่ตาแฮกจะอยู่ตามทุ่งนาเราก็จะมีการทำพิธีกรรมแสดงความเคารพสืบต่อจาการทำการตักรบาตรบ้านก็จะนำเอาห่อข้าวไปวางไว้ที่ทุ่งนาเพื่อเป็นการแสดงความเคารพความหมายของปู่ตาแฮกก็คือ บรรพบุรุษผู้บุกเบิกคำว่าแฮก คือการเริ่มซึ่งความหมายตรงกับคำว่าแรกนาขวัญ จากคำบอกเล่าของคุณพ่อสวาท   จุลเหลา ทำให้เราได้มองเห็นภาพในอดีตที่ยังคงเหลือร่องรอยของวิถีชีวิต  การพัฒนาอย่างต่อเนือง มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมรวมเข้าถึงจิตใจคนในชุมชนส้มป่อยสืบทอดกันมาสู่ลูกหลานในปัจจุบัน  ถึงจะมีการเปลี่ยนเวลา เปลี่ยนสมัยก็ไม่เคยเปลี่ยนใจในการพัฒนาชุมชนส้มป่อย

ปู่ตา



           ปู่ตาอีกสถานที่หนึ่งที่ที่ชาวบ้านในชุมชนส้มป่อยให้ความศรัทธา เชื่อถือได้แก่ ดอนปู่ตา  เดิมทีในปี พ.ศ. 2500 คนเฒ่าคนแก่ได้ร่วมกันสร้างแรงแห่งศรัทธาและการนับถือกันขึ้นมาเพื่อเป็นสิ่งที่สามารถยึดเหนี่ยวจิตใจเสมือนที่พึ่งทางใจของคนแต่โบราณแล้วสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ว่าเป็นพ่อ

ปู่ตา
   สถานที่ตั้ง  คือตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลอยู่ทางทิศตะวันตกของหนองกระเตีย ( ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของโรงเรียนบ้านส้มป่อย ( ส้มป่อยวิทยาเสริม )  )
    จ้ำ  คือ คนที่ดูแลปู่ตา  รักษาพิธีกรรมต่างๆของปู่ตา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ได้มีจ้ำสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ดังนี้
       1. จ้ำกลวงปู่อ่วม
       2.  จ้ำมี
       3.  จ้ำไป่
       4.  จ้ำอุ่น
       4.  จ้ำเหวียน
       5.  จ้ำหนอม( คนปัจจุบัน)


จ้ำหนอม( จ้ำคนปัจจุบัน)

การคัดเลือกคนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งของจ้ำ นั้นมีการคัดเลือกกัน 2 วิธีคือ
      การคัดเลือกโดยผีปู่ตาเอง โดยเป็นความเชื่อว่าถ้าปู่ตาจะให้ใครมาเป็นจ้ำก็จะไปเข้าฝัน หรือมีการสิงสู่เข้าร่างหรืออาการต่างๆไม่เหมือนปกติทั่วไป  มีอาการบ้าๆบอๆ  เสียงพูดจะสั่น  พูดไม่รู้เรื่อง รวมนั้นหมายถึงคนที่จะรับตำแหน่งของ จ้ำต่อไป
     การคัดเลือกโดยชาวบ้านเอง โดยจะคัดเลือกจากคนในชุมชนที่มีความซื่อสัตย์  คนที่ทำความดีในสังคม ธรรมะธรรมโมและรู้จักกับพิธีกรรมต่างๆของปู่ตา
      ข้อปฏิบัติของจ้ำ
  -   การปฏิบัติตนให้เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต ไม่พูดเท็จ  รักษาศีล  5
  -   ในการบอกกล่าวปู่ตา ถ้ามีคนมาบนบาลศาลกล่าว บอกตามความจริง ได้หรือไม่ได้
  -   ดูแลและ รักษาสถานที่ หรือบ้านของปู่ตา 
  -  เป็นผู้ที่บอกกล่าวให้ชาวบ้านรู้ว่าถึงเวลาที่จะทำไร่ทำนา จะมีการแห่รดน้ำจ้ำปู่ตารอบหมู่บ้านเพื่อเป็นศิริมงคลเมื่อจะลงทำไร่ทำนาในเดือน 6 หรือเดือน 12
      บทลงโทษ ของจ้ำที่ปฏิบัติผิดกฎคือจะได้รับการลงโทษจากปู่ตาคือจะมีการเจ็บไข้ได้ป่วย จะมีผลช้าหรือเร็วแตกต่างกันออกไปตามที่ปฏิบัติ
 
    พิธีกรรมของปู่ตา
      ในหนึ่งปีจะมีการเลี้ยงปู่ตากันอยู่2 ครั้งซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีชาวบ้านร่วมพิธีกันมากมาย คือ
   1.  เดือน 6   มีการเลี้ยง หมู  ไก่ และภายในเดือนนี้ก็จะมีการเสี่ยงทาย คางไก่ตัวผู้ 3 ตัว ทำนาย
          -  ไก่ตัวที่  1   ทำนายเรื่องของฝน
          -   ไก่ตัวที่  2   ทำนายเรื่องของ คน หมู่บ้าน
          -   ไก่ตัวที่  3  ทำนายเรื่องของพืชพันธ์ธัญญาหาร
   2.  เดือน  12  มีการเลี้ยง ไก่ ไข่ ข้าวเม่า โดยจะมีชาวบ้านนำมาเลี้ยงร่วมกันเป็นครอบครัว

            การบนบาลศาลกล่าว ปู่ตา  คนในชุมชนก็จะบนในเรื่องต่างๆที่ไม่เหมือนกันอย่างเช่น การบนบาลให้ลูกสอบได้ เป็นครู ตำรวจ แพทย์   เรียนต่อที่มหาวิทยาลัย   ออกรถใหม่   การแข่งขันในเรื่องต่าง  ซึ่งถ้าบนแล้วได้ก็จะมีการแก้บน  ถ้าไม่ได้ก็จะบอกกล่าวปู่ตาแต่ไม่มีการเลี้ยงแต่อย่างใด สิ่งที่นำมาบอกกล่าวคือดอกไม้ 5  คู่,เทียน    5  เล่ม, ธูป   5  ดอก, เงิน  12  บาท ,เหล้าขาว  1  ขวด

ประเพณีที่สำคัญที่จัดในหมู่บ้าน

     ประเพณีมหาสงกรานต์


         ในวันสงกรานต์ของทุกๆปี จะมีการทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าที่สนามโรงเรียนบ้านส้มป่อย (ส้มป่อยวิทยาเสริม) และมีการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุโดยการ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ภายในชุมชนบ้านส้มป่อย และในช่วงบ่ายจะมีการจัดประกวดนางสงกรานต์ ของแต่ละหมู่บ้านในตำบลส้มป่อย นับได้ว่าเป็นงานมหาสงกรานต์ก็ว่าได้ เพราะจัดยิ่งใหญ่อลังการทุกๆปี จะมีการแห่ขบวนนางสงกรานต์ จัดประกวดขบวนรถที่ออกแบบตกแต่งได้อย่างสวยงาม การประกวดขบวนแห่ รำหน้ารถนางสงกรานต์ และประกวดนางสงกรานต์ของตำบลส้มป่อย จึงถือว่างานประเพณีมหาสงกรานต์ของตำบลส้มป่อยมีการจัดยิ่งใหญ่อลังการมาก เพราะลูกหลานที่จากบ้านไปทำงานในเมืองหลวง ก็ได้ถือโอกาสกลับมาในช่วงวันสงกรานต์ เป็นเหมือนวันรวมญาต จึงทำให้ผู้คนล้นหลามมากมาย 


ประกวดขบวนแห่นางสงกรานต์



ประกวดนางสงกรานต์ประจำตำบลส้มป่อย


     ประเพณีลอยกระทง


                   ในวันลอยกระทงของทุกๆปี จะมีการจัดประกวดกระทงสวยงาม และประกวดนางนพมาศ ของแต่ละหมู่บ้านในตำบลส้มป่อย


จัดประกวดกระทงสวยงาม ของแต่ละหมู่บ้าน

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สาธารณสุขและความปลอดภัย

สถานบริการด้านสุขภาพ


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

     ข้อมูลเบื้องต้น

           โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มป่อย เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 น. - 18.00 น. ให้บริการ ปฐมพยาบาล  ตรวจโรค  คลินิกผู้สูงอายุทุกวันศุกร์  คลินิกโรคเบาหวาน  คลินิกโรคความดันโลหิตสูง  ทันตกรรม  คลินิกโรงเรียนพ่อแม่ ให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  ฉีดวัคซีน  ฝากครรภ์  และวางแผนครอบครัว

ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มป่อย


นางนงพราว  สุภาจินดานนท์
ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มป่อย 








การรักษาความปลอดภัย



อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
องค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย

            อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ทำหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยให้กับชาวบ้าน และลูกหลานในการปั่นจักรยาน หรือยานพาหนะอื่นๆ ดูแลความปลอดภัยเวลาเด็กนักเรียน หรือคนในชุมชนจะข้ามถนน หรือมีงาน มหรสพ งานเลี้ยง หรืองานต่างๆ เพื่อรักษาความปลอดภัยภายในงาน ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย        



รถรับส่งผู้ป่วย และผู้ได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ
ของศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน องค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย

ข้อมูลสถานศึกษา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง คือ

     ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย

 

     ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย เริ่มก่อตั้งเมื่อ ปี 2546 พื้นที่ 200 ตารางวา  
อาคารเรียน 1 หลัง 1 ชั้น 1 ห้อง มีโรงอาหารแยกออกจากตัวอาคาร จำนวนนักเรียน 55 คน 

ครูผู้ดูแล 2 คน  

ครูผู้ดูแลเด็ก


นางอุไร สุธิโส
ครูผู้ดูแลเด็ก (หัวหน้า ศพด.อบต.ส้มป่อย)


นางวรัญญา  โพธิวัฒน์
ครูผู้ดูแลเด็ก (ศพด.อบต.ส้มป่อย)

บรรยากาศภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

 


สถานศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ

     โรงเรียนบ้านส้มป่อย (ส้มป่อยวิทยาเสริม) 


     โรงเรียนบ้านส้มป่อย (ส้มป่อยวิทยาเสริม) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2466 เปิดสอนระดับ อนุบาล - ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 มี 

     ข้อมูลครู/บุคลากรภายในโรงเรียน

          1. ครูจำนวน 16 คน  แยกเป็น ชาย 6 คน  หญิง 10 คน
          2. นักการภารโรง จำนวน 2 คน
       
        ปัจจุบันผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านส้มป่อย (ส้มป่อยวิทยาเสริม) คือ นายพยนต์ ดาวเรือง 


นายพยนต์  ดาวเรือง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านส้มป่อย (ส้มป่อยวิทยาเสริม)
ผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการพิเศษ

       ข้อมูลนักเรียนในโรงเรียน ปีการศึกษา 2556


   จำนวนนักเรียนรวมทั้งสิ้น 268 คน

สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ

     โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม


          โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมประจำตำบล อำเภอราษีไศล  จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่้อ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 
           ปัจจุบันโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  28 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 
เปิดทำสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาตอนต้น) และช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาตอนปลาย) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเป็น “โรงเรียนต้นแบบ” โครงการ  ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน ของอำเภอราษีไศล  และล่าสุดในปีการศึกษา 2553 ได้รับรางวัล" โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดกลาง "

ข้อมูลครู/บุคลากรภายในโรงเรียน

          1. ครูจำนวน 36 คน  แยกเป็น ชาย 17 คน  หญิง 19 คน
          2. ช่างครุภัณฑ์ชั้น 3  จำนวน 2 คน
          3. พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 1 คน
       
        ปัจจุบันผู้อำนวยการโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม คือ นายบัญชา  ติละกูล


นายบัญชา  ติละกูล
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านส้มป่อย (ส้มป่อยวิทยาเสริม)
ผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการพิเศษ


       ข้อมูลนักเรียนในโรงเรียน ปีการศึกษา 2556


จำนวนนักเรียนรวมทั้งสิ้น 692 คน