รายวิชา 1202362 การจัดการสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น
Management of Information and Local Wisdom.

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เศรษฐกิจและรายได้ในการประกอบอาชีพ


การประกอบอาชีพ



ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร  อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา อาชีพเสริม ได้แก่ ปลูกหอมแดง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า จักสาน ปลูกพืชผักสวนครัว และอาชีพเสริมที่ทำรายได้ให้กับครัวเรือนมากที่สุด คือ อาชีพปลูกหอมแดง รองลงมาคือกลุ่มอาชีพเลี้ยงโค  มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 138,000 บาท/ปี  รายได้ต่อครอบครัว  250,000  บาท/ครอบครัว  รวมเป็นเงินที่ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนประมาณ ปีละ  15  ล้านบาท  (ข้อมูลจาก  อบต.ส้มป่อย)

กลุ่มร้านค้าชุมชนบ้านส้มป่อย หมู่ที่ 2


ร้านค้าชุมชน บ้านส้มป่อยหมู่ 2

         การบริหารการจัดการ
 -   คณะกรรมการประชุมทุกวันที่ 3 ของทุกเดือน
-    มีระเบียบ ข้อบังคับ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนอยู่เสมอ
-    ออกระเบียบใช้ในการบริหารจัดการแผนการพัฒนากองทุนร้านค้าให้เข็มแข็งและยั่งยืน
-     พัฒนาการบริหารจัดการรอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้
-    จำหน่ายสินค้าที่เหมาะสม สะดวก สะอาด ปลอดภัย
-    ส่งเสริมให้มีการเพิ่มหุ้น
-     บริการเครดิตสินค้าให้กับสมาชิก
-     มีการกำหนดการใช้เครดิตสินค้าไม่เกิน ห้าเท่าของหุ้น

ข้อมูลทั่วไป

1.กองทุนร้านค้า หมู่ที่ 2 ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล  จังหวัดศรีสะเกษ   มีสมาชิกจำนวน 239 คน
      2. การดำเนินการ.กองทุนร้านค้า ตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2541ได้รวมกลุ่มกับบ้านส้มป่อยหมู่ที่ 15 ต่อมาได้แยกหมู่บ้าน   มาเป็นกองทุนร้านค้าชุมชน หมู่ที่  2 วันที่  26  เมษายน  
2546 



กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฯบ้านส้มป่อยหมู่ที่ 2

 

ข้อมูลทั่วไป

       1. กลุ่มออมทรัพย์ หมู่ที่ 2 ตำบลส้มป่อย  อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ มีสมาชิกจำนวน 148 คน                                           
             2.การดำเนินการ  กลุ่มออมทรัพย์ตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2541ได้รวมกลุ่มกับบ้านส้มป่อยหมู่ที่ 15 ต่อมาได้แยกหมู่บ้านมาเป็นกลุ่มออมทรัพย์ หมู่ที่  2 วันที่ 1 กันยายน 2545 ได้ดำเนินการตามลำดับต่อไปนี้สรุปยอดสมาชิกและจำนวนเงินสัจจะต่อปี 

การบริหารการจัดการ
 1. คณะกรรมการประชุมทุกวันที่ 6  ของทุกเดือน
 2. การส่งเงินสัจจะรายเดือนทุกวันที่ 5 ของเดือน
 3. ส่งเงินชำระเงินปุ๋ยเดือนมีนาคมของทุกปี
 4.  การปันผลประจำเดือนพฤษภาคมของทุกปี
 5. แผนการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหมู่ที่2
 6. พัฒนาบุคลากรของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์และ
 7.  คณะกรรมการแสดงบทบาทของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
 8. ส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มโดยสม่ำเสมอ
 9. ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิก
 10.ส่งเสริมการออมระดมเงินหุ้น 

มุ่งพัฒนาอาชีพและสนับสนุนในการพัฒนาอาชีพแผนปฏิบัติ การขับเคลื่อนการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ฯ
           1. โครงการพัฒนาการบริหาร
2.  โครงการประชุมคณะกรรมการ
3.  โครงการเพิ่มหุ้น
4.  โครงการพัฒนาประสิทธิภาพขอบุคลากร
5.  โครงการประชาสัมพันธ์
6.  โครงการทำดอกไม้ประดิษฐ์และของชำรวย
 7.  โครงการติดตามและประเมินผล
       8. โครงการศึกษาดูงาน
กิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ฯ
1. ให้บริการปุ๋ยแก่สมาชิก
2.  ส่งเสริมการศึกษา
3.  การถนอมอาหาร
4.  สนับสนุนศิลปะประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน
5.  สวัสดิการสมาชิก
6.  รับฝากเงินสัจจะ
7.   การแปรรูปอาหาร
8. ให้เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน



บรรยากาศภายในสถาบัน


กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านส้มป่อย หมู่ที่ 2 ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่จัดตั้งขึ้นด้วยหลักการและวิธีการของกรมการพัฒนาชุมชน  มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อการออมและเป็นทุนในการประกอบอาชีพและใช้จ่ายยามเดือดร้อนจำเป็นของสมาชิกในชุมชน  มีการบริหารจัดการกลุ่มด้วยหลักคุณธรรม 5 ประการ     ทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง มีการพัฒนามาตามลำดับ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากผลการประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัดและระดับเขต เมื่อปี พ.ศ. 2551 เป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีคุณสมบัติ  ตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์ของการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คือ
               1.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่ขึ้นทะเบียนรับรองคุณสมบัติกับกรมการพัฒนาชุมชน
               2.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่มีผลการประเมินการจัดระดับการพัฒนาอยู่ในระดับ 3
               3.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่มีกองทุนชุมชนอื่นๆ ด้วย  เช่น  กลุ่มอาชีพ
               4.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่ยึดมั่นในคุณธรรม 5 ประการ ในการบริหารจัดการกลุ่ม
               5.  เป็นกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่มีความพร้อม  ผลการดำเนินงานเจริญก้าวหน้าต่อเนื่อง และสมัครใจ
                            จังหวัดศรีสะเกษ  จึงได้พิจารณาคัดเลือกเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป้าหมาย  ดำ เนินงานตามโครงการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ตามแผนปฏิบัติราชการกรมการพัฒนาชุมชนประจำปี  2552 
โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
                          1. ให้การบริหารจัดการเงินทุนชุมชนเป็นระบบเป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาของชุมชนโดยชุมชน
   2.  เป็นแหล่งออมเงิน แหล่งทุนและแหล่งสวัสดิการ ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย
                           3. เป็นสถาบันการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการของคณะกรรมการและสมาชิก


เจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
            มีจำนวน 3 ตำแหน่ง ประกอบด้วย
           1. เจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนฝ่ายทะเบียน   นางจิรกาญจน์  บุญมาก       
           2. เจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนฝ่ายบัญชี       นางพิสมัย         พรหมศร    
           3. เจ้าหน้าที่สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนฝ่ายสินเชื่อ     นางเกษศิรินทร์  ศรีวิชัย                            


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น