รายวิชา 1202362 การจัดการสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น
Management of Information and Local Wisdom.

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บุคคลสำคัญ และปราชญ์ชาวบ้าน


ปราชญ์ชาวบ้าน

     พ่อหนูพรหม   บริบาล หมอยาสมุนไพรประจำชุมชน วัย 70 ปีถิได้ว่าเป็นบุคคลที่ชุมชนได้ให้ความเคารพอีกท่านหนึ่งเป็นที่รู้จักในอีกนามหนึ่งคือ คุณพ่อจาร เนื่องจากบวชเรียนตั้งแต่วัยเด็ก
จนได้บวชเป็นพระ อยู่ในสมานเพช ตลอดมาและมีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพร การเป่า  การต่อกระดูก กล้ามเนื้อฟกช้ำ รวมถึงเส้นเอ็นต่างๆด้วยการรักษาด้วยน้ำมัน
             พ่อจารหนูพรหม  ได้เล่าให้ฟังว่า เรื่องการรักษานั้นกระทำด้วยใจ และอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เรื่ององค่ารักษาก็ไม่เคยตั้งค่ารักษาไว้ ความภูมิใจอยู่ที่ผู้มาให้รักษาอาการป่วยแล้วหายและไม่ทุกข์ทรมานก็ถือว่าภูมิใจแล้ว   ส่วนวิชาที่ได้มาก็ได้จากการเรียนรู้ตอนที่บวชเรียนเป็นพระและได้รับการถ่ายทอดมาจากบ้านกาเจาะ จ. สุรินทร์ ตามที่เคยรักษาคนที่ป่วยมานั้นอาการที่เป็นคือดีขึ้นเกือบทุกรายและจะอยู่ที่ข้อปฏิบัติที่ต้องปฏิบัติตนของผู้ป่วยเองด้วย  เช่นต้องไม่ดื่มเหล้า ไม่ขยับกาย เกินความจำเป็นหรือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ
              ในฐานะที่เคยบวชเรียนเลยได้ขอถือโอกาสให้ช่วยบอกเล่าถึงฮีต 12 ครอง 14 ที่ชุมชนส้มป่อยได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา
                 เดือนอ้าย คือ   การเข้ากรรมหมายถึงพระเข้ากรรม
              เดือนยี่      คือ   ข้าวเข้าลานหมายถึงการเตรียมลานข้าวขนข้าวเขข้าลาน
              เดือน  3     คือ   บุญข้าวจี่และมีการสู่ขวัญข้าว
              เดือน   4    คือ   บุญพระเวช
              เดือน   5    คือ   บุญสงกรานต์
              เดือน   6     คือ   บุญบั้งไฟ
              เดือน   7    คือ    การตักบาตรบ้าน
              เดือน    8   คือ    บุญเข้าพรรษา
              เดือน   9     คือ   ข้าวประดับดิน
              เดือน   10   คือ   บุญข้าวสาก
              เดือน   11   คือ   ออกพรรษา
               เดือน   12   คือ  บุญกฐิน
          ซึ่งทุกเดือนก็จะมีการปฏิบัติตามฮีต 12 ครอง 14 คนในชุมชนจะถือปฏิบัติตนเสมอมาโดยไม่ต้องมีการนัดหมายและความสำคัญของการทำบุญแต่ละเดือนทำให้คนในชุมชนได้มีโอกาสพบปะกันพูดคุยกัน  



นายคาน   สุตะพันธ์

          นายคาน     สุตะพันธ์ วัยย่างเข้า 67 ปี เป็นคนในชุมชนส้มป่อยโดยกำเนิดมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 16 ชีวิต นายคาน  สุตะพันธ์ เป็นลูกคนที่ 8 ถือว่าเป็นครอบครัวใหญ่ แต่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร   อาชีพส่วนตนในปัจจุบันทำนาเป็นอาชีพหลัก อาชีพรองคือการปลูกหอมแดง อาชีพเสริมคือ การจักรสาน
     เราลองหันกลับมาดูในอีกมุมหนึ่งของบุคคลในชุมชนที่ถ่ายทอดถึงวิถีการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวที่ถือว่ามีขนาดใหญ่และอยู่อย่างมีความสุขได้อย่างไร
     พ่อคาน   สุตะพันธ์  เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งยังเยาว์วัยมีพี่น้อง พ่อแม่ อยู่รวมกันเยอะมีความอบอุ่น มีข้าวกิน อาหารก็อุดมสมบูรณ์ ภูมิประเทศของส้มป่อยเป็นท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์มาก ในป่ามีเห็ดมีหน่อไม้ มีพืชผัก ในน้ำมูลก็มีปลา ในนาข้าวก็มีปลารวมถึงปลาในสระน้ำ ( บ่อล่อปลา ) มีเป็ด ไก่ เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารและยังมีผลไม้ตามฤดูกาลให้ได้กินตลอดทั้งปี พื้นที่ลุ่มก็ทำนา พื้นที่ดอนก็ปลูกหอมกระเทียม ปลูกปอ
         การดำรงชีวิตของแต่ละคนในครอบครัว คุณพ่อจะถนัดทางด้านเย็บเสื้อผ้าถือเป็นอาชีพรองหลังจากการทำนา แม่ก็มีความสามารถทางด้านเลี้ยงไหม การทอผ้า ที่สวมใส่ของคนในครอบครัว รวมถึงเสื้อผ้านักเรียนจะมีการตัดการเย็บเองด้วยมือเป็นส่วนใหญ่ ลูกทุกคนยังอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ พี่คนโตก็จะช่วยเลี้ยงน้องดูแลน้อง พี่บางคนก็จะช่วยพ่อตัดเย็บ ส่วนผู้หญิงก็จะช่วยแม่เลี้ยงไหมและทอผ้าและพี่บางคนก็จะออกไปรับจ้างหาเงินมาใช้ในครอบครัว เวลากินข้าวส่วนมากตอนเช้าและตอนเย็นก็จะรับประทานอาหารพร้อมหน้ากัน ในตอนเช้าจะเป็นข้าวเหนียวนึ่ง ประมาณ 6-8 กิโลกรัม ต่อวัน ( ข้าวสาร )ส่วนลูกที่อยู่ในวัยเรียนตอนเที่ยงก็จะกลับมากินข้าวเที่ยงที่บ้านเนื่องจากบ้านไม่ไกลจากโรงเรียน เรื่องเงินซื้อขนมก็ไม่ต้องใช้เพราะมีผลไม้ข้างทางก็เป็นอาหารว่างได้ ส่วนอุปกรณ์การเรียนจะมีกระดานดำ ดินสอดำ ก็ไปโรงเรียนได้ อุปกรณ์การเรียน ชุดเสื้อผ้าที่ยังใช้ได้ก็เอาให้น้องใช้ต่อไปได้ ความผูกพันอย่างหนึ่งระหว่างพี่น้องที่พอจะเห็นได้คือ พ่อแม่มีลูกหลายคน พี่จะต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูน้อง ไม่ให้น้องร้องไห้ ความผูกพันเหล่านี้จึงทำให้เกิดความรักซึ่งกันและกัน
          ด้านอาชีพของพ่อคาน  สุตะพันธ์ เป็นคนที่ชอบทำอาหาร ชอบจักรสาน โดยได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการจักรสานจากหลวงปู่ที่วัดสมัยที่บวชเรียน  ด้วยมีความชอบเป็นทุนเดิมจึงทำให้ชิ้นงานออกมาด้วยความประณีต จึงได้รับความนิยมมากในสมัยนั้น และยังมีกลุ่มที่ยึดอาชีพจักรสานอยู่หลายคน แต่ด้วยวัยที่สูงขึ้น จึงยังคงเหลือพ่อคาน   สุตะพันธ์ ที่ยังคงยึดอาชีพนี้อยู่พ่อคานเล่าถึงความรู้ที่ไดรับจากหลวงปู่คือการเรียนรู้ลายจักสานต่างๆ เช่น สายสาม จะใช้กับพวก กะเบียน
กระด้งสายสองจะใช้ในพวกสานฝาผนังบ้าน และลายขัดจะใช้ในพวกสานตะกร้า ขาบข้าว กระบุงเป็นต้น ผลผลิตที่ได้นั้นจะนำไปขายในชุมชน ส่วนมากจะมีการสั่งจอง และทำสั่งตามความต้องการ ความกังวลตอนนี้คือความรู้ในเรื่องการจักสานจะสูญหายต้องการถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นหลัง
         สรุปการบอกเล่าของพ่อคาน  สุตะพันธ์ จะทำให้มองเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของชุมชนส้มป่อยทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ทั้งดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามส่งผลถึงเป็นสังคมของชุมชนที่มีความเอื้ออาทรต่อกันมีความรักสามัคคีที่ดีต่อกันมองได้จากความเป็นอยู่อย่างมีระบบและมีความสุขได้จะต้องมีปัจจัยและสิ่งแวดล้อมภายนอกคือความสมบูรณ์ทางธรรมชาติภายในท้องถิ่นนั้นๆ 


บุคคลสำคัญของหมู่บ้าน



นายคมศักดิ์  โพธิ์งาม
บุคคลสำคัญของบ้านส้มป่อย หมุ่ 2 


            นายคมศักดิ์    โพธิ์งาม ถือได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีใจรักทางด้านการเมืองที่อยู่ในชุมชนส้มป่อยหมู่ที่ 2 มีประวัติเกี่ยวกับชีวิต การเมืองและชอบการเป็นผู้นำมาตั้งแต่เยาว์วัย มีความคิดที่คิดและทำควบคู่กันไปโยไม่ต้องรอวันและเวลา มีความเสียสละทำเพื่อส่วนรวมด้วยใจรักจนเป็นที่ ยอมรับของคนในชุมชน สนับสนุนให้เป็นสารวัตรกำนันและได้รับการเลือกตั้งให้เป็น อบต. สมัยแรก ต่อมาได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสภา อบต. เลือกแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการสภา อบต. จนได้รับเลือกเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย ถือได้ว่าเป็นผู้นำที่เกิดจากแรงศรัทธาของคนในชุมชน
           ผลงานด้านการพัฒนาได้จัดให้มีการพัฒนาทางด้านสังคม การเมืองการปกครอง จัดให้องค์กรทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม  ร่วมคิดร่วมทำ โดยจัดให้มีการประชุมเชิงบูรณาการ ( CEO)เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนได้แสดงความคิดเห็นนำเสนอผลงาน เสนอปัญหาและร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาร่วมกันจนทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ภายในชุมชนหลายอย่าง รวมถึงแนวทางการสร้าการมีส่วนร่วมเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งโดยใช้ประเพณีวัฒนธรรมเช่นการร่วมทำบุญประเพณีสงกรานต์ การทำบุญวันขึ้นปีใหม่  ลอยกระทง  โดยการทำบุญพร้อมกันของคนในชุมชนที่โรงเรียนบ้านส้มป่อย ( ส้มป่อยวิทยาเสริม)
          การสนับสนุนด้านการศึกษา จนพัฒนาคุณภาพของเยาวชนสู่สถาบันการศึกษาที่ดีมากมาย จึงขอโอกาส นี้ขอให้ท่านได้ถ่ายทอด องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับชุมชนส้มป่อยหมู่ที่ 2  ดังนี้
         ชุมชนส้มป่อยในอดีตเคยเป็นค่ายทหารเรียกว่าค่ายส้มป่อย  จะพบร่องรอยพอให้เห็นรวมถึงการสืบทอดทางการบอกเล่าต่อกันมาคือเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว ยกทับเพื่อตีเมืองโคราชโดยตั้งค่ายที่ส้มป่อย จากคำบอกเล่ายังยังพอมีร่องรอยทางด้านชุมชนคือชุมชนบ้านโกซึ่งเป็นชาวโคราชที่ตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลส้มป่อยจนถึงทุกวันนี้ซึ่งปรากฏรายละเอียดชุดองค์ความรู้แผนที่ตั้งชุมชนดั้งเดิมพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
         ชุมชนส้มป่อย ได้ก่อตั้งเป็นคุ้มใหญ่เรียกว่าบ้านส้มป่อยใหญ่  คุ้มน้อยเรียกว่าบ้านส้มป่อยน้อย มีวัดส้มป่อยใหญ่  วัดส้มป่อยน้อย  และมีโรงเรียนส้มป่อย  (ประถม , มัธยม) สถานีอนามัยอยู่กึ่งกลาง ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 5  หมู่บ้าน จำนวน 500 หลังคาเรือน
         สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวชุมชนส้มป่อยที่เด่นชัดคือความเป็นอยู่ ที่อุดมสมบูรณ์เพราะตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ปีใหนฝนตกดีก็ได้ข้าวมาก ปีใหนฝนตกน้อยก็ยังมีข้าวกิน เพราะดินดี  น้ำดี ระดับน้ำใต้ดินมีมาก อาชีพเสริมคือการปลูกหอมแดง ประชาชน 92 % มีอาชีพปลูกหอมแดง สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่าปีละ  90  ล้านบาท เมื่อความเป็นอยู่ค่อนข้างดีจึงทำให้ พ่อ แม่ผู้ปกครองมีกำลังส่งลูกหลานให้ได้เรียนหนังสือ ตำบลส้มป่อยถือเป็นตำบลที่ได้รับการขยายโรงเรียนจากชั้น ป. 4 ถึงชั้น ป. 7 เป็นแห่งที่ 2 ของอำเภอราศีไศลคือโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม ก่อตั้งเมือ 19 ก.ค. 2519  ชุมชนส้มป่อยก็ค่อยๆเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับเพราะเศรษฐกิจดี มีการศึกษา ตำบลส้มป่อยมีผู้สำเร็จการศึกษาและรับราชการเป็นจำนวนมาก ถ้าเทียบในระดับตำบลต่างๆแล้วในจังหวัดศรีสะเกษถือว่า ตำบลส้มป่อยคือ กตะศิลาทางการศึกษา
              บ้านเมืองรักสงบมีความสามัคคีผู้นำเข้มแข็งทำงานอย่างต่อเนื่องนำสิ่งดีๆมาสู่ชุมชน เช่นกองทุนร้านค้าประจำหมู่บ้าน ทุกกองทุนก่อตั้งมานานตั้งแต่ปี 2520 ก็ค่อยพัฒนาเจริญขึ้นมาจนทุกวันนี้ ไม่เคยล้มลุกคลุกคลานเพราะคณะกรรมการเข้มแข็ง สมาชิกรู้จักรักษาผลประโยชน์ร้านค้าของตนเอง
              ในชุมชนส้มป่อย ที่เป็นจุดแข็งอีกอย่างก็เพราะแต่ละส่วนงานหรือองค์กรได้พัฒนามาเป็นลำดับ จาการพูดคุยประชุมและร่วมงานกันมาตลอดตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา มีการประชุมในรูปบูรณาการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน บ้านใด หน่วยงานใด องค์กรใดมีงานก็ช่วยกันทำ ในภาพรวมของตำบลส้มป่อย โรงเรียนแต่ละแห่งพัฒนา วัดทุกวัดเจริญ สถานีอนามัยพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลก้าวหน้าเพราะเป็นองค์กรประสานงานส่วนต่างๆให้พัฒนาควบคู่กันไปในทุกๆด้านโดยเฉพาะในช่วงจากปี 2530 -  2552  ที่ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมกับทุกๆส่วนงาน เพื่อพัฒนาชุมชนส้มป่อยให้มั่นคงและยั่งยืน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น