รายวิชา 1202362 การจัดการสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น
Management of Information and Local Wisdom.

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ศาสนาและประเพณี

สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา



วัดบ้านส้มป่อยน้อย หมู่ 2, 15


เจ้าอาวาสวัดบ้านส้มป่อยน้อย


หลวงตาจวน  ปริสุทโธ
เจ้าอาวาสวัดบ้านส้มป่อยน้อย


ด้านจารีประเพณี  ตามฮีต 12 คลอง 14 ครบถ้วนการสืบทอดที่ทำกันเป็นประจำทุกปีคือการทำบุญกลางบ้านหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "การตักรบาตรบ้าน"  จะมีขึ้นอย่างน้อยปีละครั้งในเดือนหก เพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษเป็นการเคารพพื้นที่และแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความภาคภูมิใจในชุมชน

ด้านความเชื่อ และการนับถือศาลปู่ตา และปู่ตาแฮก ความเป็นมาได้รับการถ่ายทอดจากคุณพ่อสวาทว่า คำว่าปู่คือบรรพบุรุษทางฝ่ายพ่อคือเป็นพ่อของพ่อของพ่อและตาคือบรรพบุรุษทางฝ่ายแม่ของแม่ต่อๆไป กล่าวสรุปได้ว่าศูนย์รวมบรรพบุรุษของทุกครอบครัวนั่นเองซึ่งจะมีที่ตั้งศาลอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลเป็นสภาพป่าที่สมบูรณ์เรียกว่าดอนปู่ตา และปู่ตาแฮกจะอยู่ตามทุ่งนาเราก็จะมีการทำพิธีกรรมแสดงความเคารพสืบต่อจาการทำการตักรบาตรบ้านก็จะนำเอาห่อข้าวไปวางไว้ที่ทุ่งนาเพื่อเป็นการแสดงความเคารพความหมายของปู่ตาแฮกก็คือ บรรพบุรุษผู้บุกเบิกคำว่าแฮก คือการเริ่มซึ่งความหมายตรงกับคำว่าแรกนาขวัญ จากคำบอกเล่าของคุณพ่อสวาท   จุลเหลา ทำให้เราได้มองเห็นภาพในอดีตที่ยังคงเหลือร่องรอยของวิถีชีวิต  การพัฒนาอย่างต่อเนือง มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมรวมเข้าถึงจิตใจคนในชุมชนส้มป่อยสืบทอดกันมาสู่ลูกหลานในปัจจุบัน  ถึงจะมีการเปลี่ยนเวลา เปลี่ยนสมัยก็ไม่เคยเปลี่ยนใจในการพัฒนาชุมชนส้มป่อย

ปู่ตา



           ปู่ตาอีกสถานที่หนึ่งที่ที่ชาวบ้านในชุมชนส้มป่อยให้ความศรัทธา เชื่อถือได้แก่ ดอนปู่ตา  เดิมทีในปี พ.ศ. 2500 คนเฒ่าคนแก่ได้ร่วมกันสร้างแรงแห่งศรัทธาและการนับถือกันขึ้นมาเพื่อเป็นสิ่งที่สามารถยึดเหนี่ยวจิตใจเสมือนที่พึ่งทางใจของคนแต่โบราณแล้วสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ว่าเป็นพ่อ

ปู่ตา
   สถานที่ตั้ง  คือตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลอยู่ทางทิศตะวันตกของหนองกระเตีย ( ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของโรงเรียนบ้านส้มป่อย ( ส้มป่อยวิทยาเสริม )  )
    จ้ำ  คือ คนที่ดูแลปู่ตา  รักษาพิธีกรรมต่างๆของปู่ตา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ได้มีจ้ำสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ดังนี้
       1. จ้ำกลวงปู่อ่วม
       2.  จ้ำมี
       3.  จ้ำไป่
       4.  จ้ำอุ่น
       4.  จ้ำเหวียน
       5.  จ้ำหนอม( คนปัจจุบัน)


จ้ำหนอม( จ้ำคนปัจจุบัน)

การคัดเลือกคนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งของจ้ำ นั้นมีการคัดเลือกกัน 2 วิธีคือ
      การคัดเลือกโดยผีปู่ตาเอง โดยเป็นความเชื่อว่าถ้าปู่ตาจะให้ใครมาเป็นจ้ำก็จะไปเข้าฝัน หรือมีการสิงสู่เข้าร่างหรืออาการต่างๆไม่เหมือนปกติทั่วไป  มีอาการบ้าๆบอๆ  เสียงพูดจะสั่น  พูดไม่รู้เรื่อง รวมนั้นหมายถึงคนที่จะรับตำแหน่งของ จ้ำต่อไป
     การคัดเลือกโดยชาวบ้านเอง โดยจะคัดเลือกจากคนในชุมชนที่มีความซื่อสัตย์  คนที่ทำความดีในสังคม ธรรมะธรรมโมและรู้จักกับพิธีกรรมต่างๆของปู่ตา
      ข้อปฏิบัติของจ้ำ
  -   การปฏิบัติตนให้เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต ไม่พูดเท็จ  รักษาศีล  5
  -   ในการบอกกล่าวปู่ตา ถ้ามีคนมาบนบาลศาลกล่าว บอกตามความจริง ได้หรือไม่ได้
  -   ดูแลและ รักษาสถานที่ หรือบ้านของปู่ตา 
  -  เป็นผู้ที่บอกกล่าวให้ชาวบ้านรู้ว่าถึงเวลาที่จะทำไร่ทำนา จะมีการแห่รดน้ำจ้ำปู่ตารอบหมู่บ้านเพื่อเป็นศิริมงคลเมื่อจะลงทำไร่ทำนาในเดือน 6 หรือเดือน 12
      บทลงโทษ ของจ้ำที่ปฏิบัติผิดกฎคือจะได้รับการลงโทษจากปู่ตาคือจะมีการเจ็บไข้ได้ป่วย จะมีผลช้าหรือเร็วแตกต่างกันออกไปตามที่ปฏิบัติ
 
    พิธีกรรมของปู่ตา
      ในหนึ่งปีจะมีการเลี้ยงปู่ตากันอยู่2 ครั้งซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีชาวบ้านร่วมพิธีกันมากมาย คือ
   1.  เดือน 6   มีการเลี้ยง หมู  ไก่ และภายในเดือนนี้ก็จะมีการเสี่ยงทาย คางไก่ตัวผู้ 3 ตัว ทำนาย
          -  ไก่ตัวที่  1   ทำนายเรื่องของฝน
          -   ไก่ตัวที่  2   ทำนายเรื่องของ คน หมู่บ้าน
          -   ไก่ตัวที่  3  ทำนายเรื่องของพืชพันธ์ธัญญาหาร
   2.  เดือน  12  มีการเลี้ยง ไก่ ไข่ ข้าวเม่า โดยจะมีชาวบ้านนำมาเลี้ยงร่วมกันเป็นครอบครัว

            การบนบาลศาลกล่าว ปู่ตา  คนในชุมชนก็จะบนในเรื่องต่างๆที่ไม่เหมือนกันอย่างเช่น การบนบาลให้ลูกสอบได้ เป็นครู ตำรวจ แพทย์   เรียนต่อที่มหาวิทยาลัย   ออกรถใหม่   การแข่งขันในเรื่องต่าง  ซึ่งถ้าบนแล้วได้ก็จะมีการแก้บน  ถ้าไม่ได้ก็จะบอกกล่าวปู่ตาแต่ไม่มีการเลี้ยงแต่อย่างใด สิ่งที่นำมาบอกกล่าวคือดอกไม้ 5  คู่,เทียน    5  เล่ม, ธูป   5  ดอก, เงิน  12  บาท ,เหล้าขาว  1  ขวด

ประเพณีที่สำคัญที่จัดในหมู่บ้าน

     ประเพณีมหาสงกรานต์


         ในวันสงกรานต์ของทุกๆปี จะมีการทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าที่สนามโรงเรียนบ้านส้มป่อย (ส้มป่อยวิทยาเสริม) และมีการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุโดยการ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ภายในชุมชนบ้านส้มป่อย และในช่วงบ่ายจะมีการจัดประกวดนางสงกรานต์ ของแต่ละหมู่บ้านในตำบลส้มป่อย นับได้ว่าเป็นงานมหาสงกรานต์ก็ว่าได้ เพราะจัดยิ่งใหญ่อลังการทุกๆปี จะมีการแห่ขบวนนางสงกรานต์ จัดประกวดขบวนรถที่ออกแบบตกแต่งได้อย่างสวยงาม การประกวดขบวนแห่ รำหน้ารถนางสงกรานต์ และประกวดนางสงกรานต์ของตำบลส้มป่อย จึงถือว่างานประเพณีมหาสงกรานต์ของตำบลส้มป่อยมีการจัดยิ่งใหญ่อลังการมาก เพราะลูกหลานที่จากบ้านไปทำงานในเมืองหลวง ก็ได้ถือโอกาสกลับมาในช่วงวันสงกรานต์ เป็นเหมือนวันรวมญาต จึงทำให้ผู้คนล้นหลามมากมาย 


ประกวดขบวนแห่นางสงกรานต์



ประกวดนางสงกรานต์ประจำตำบลส้มป่อย


     ประเพณีลอยกระทง


                   ในวันลอยกระทงของทุกๆปี จะมีการจัดประกวดกระทงสวยงาม และประกวดนางนพมาศ ของแต่ละหมู่บ้านในตำบลส้มป่อย


จัดประกวดกระทงสวยงาม ของแต่ละหมู่บ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น